วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ความรู้วิชาแนะแนว

หน้าที่และหลักการแนะแนว
ปรัชญาของการแนะแนว
1. บุคคลแต่ละคนย่อมมีความแตกต่าง
2. มนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีค่าสูงยิ่ง
3. บุคคลย่อมมีศักดิ์ศรีและศักยภาพประจำตัว
4. บุคคลแต่ละคนย่อมต้องการความช่วยเหลือ
5. บุคคลจะมีความสุขเมื่อได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ในด้านต่าง ๆ
6. พฤติกรรมทุกอย่างย่อมมีสาเหตุ
หลักการสำคัญของการแนะแนว
การจัดกิจกรรมแนะแนวจะต้องจัดให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ การที่จะให้งานบริการแนะแนวบรรลุวัตถุประสงค์ได้นั้น จำเป็นจะต้องคำนึงถึงหลักการแนะแนวที่มีการวางแผนการดำเนินงานให้เหมาะสม ดังนั้นอาจารย์แนะแนวจึงควรยึดถือหลักการสำคัญของการจัดกิจกรรมแนะแนว เพื่อเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
1. การแนะแนวเป็นบริการที่ต้องจัดให้กับบุคคลทุกคนไม่ใช่เฉพาะนักศึกษาที่มีปัญหาเท่านั้น
2.การแนะแนวตั้งอยู่บนรากฐานของการยอมรับในศักดิ์ศรีและคุณค่าของแต่ละคนและยอมรับในสิทธิส่วนตัวในการตัดสินใจที่จะเลือกทำในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
3. การแนะแนวเป็นกระบวนการเกี่ยวกับการศึกษาที่ต้องปฏิบัติต่อเนื่องกันและเป็นไปตามลำดับขั้น
4. การแนะแนวจะต้องเกิดจากความร่วมมือไม่ใช่การบังคับ
5. การแนะแนวเน้นในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
6. การแนะแนวเน้นในเรื่องของการเข้าใจตนเอง การตัดสินใจด้วยตนเอง และการปรับตัว ด้วยตนเอง
7. การแนะแนวเน้นในเรื่องการป้องกันปัญหามากกว่าการแก้ไขปัญหา
8. การแนะแนวเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางการศึกษา
9. การแนะแนวที่มีประสิทธิภาพจะต้องเกิดจากความร่วมมือ และความเต็มใจของบุคลากร ทุกฝ่ายในมหาวิทยาลัย และนักศึกษาผู้มารับบริการ
10.การแนะแนวจะต้องจัดบริการให้ครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ (1) การแนะแนวการศึกษา (2) การแนะแนวอาชีพ (3) การแนะแนวส่วนตัวและสังคม
ประโยชน์ของการแนะแนว
1. ประโยชน์แก่ผู้ปกครองหรือบิดามารดา
1.1 ได้รับรู้และเข้าใจสถานภาพทางการเรียนของบุตรหลานของท่าน เมื่อท่านได้มีโอกาสปรึกษาหารือกับครูแนะแนว
1.2 ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับโอกาสที่บุตรหลานของท่านจะได้เรียนต่อหรือออกไปประกอบอาชีพ
1.3 รับรู้และเข้าใจสภาพปัญหาของเด็กวัยรุ่นเพื่อจะได้ให้ความร่วมมือกับโรงเรียนในการปรับปรุงพฤติกรรมของบุตรหลานของท่านต่อไป
2. ประโยชน์ต่อนักเรียน
2.1 ช่วยให้นักเรียนรู้จักตนเองดีขึ้นและสามารถปรับปรุงตนเองในด้านการเรียน สังคมอารมณ์และสติปัญญา
2.2 ช่วยให้นักเรียนตัดสินใจได้ด้วยตนเองอย่างฉลาดและมีเหตุผล
2.3 ช่วยให้นักเรียนเข้าใจสาเหตุของปัญหาและวิธีแก้ปัญหาเพื่อสามารถดำเนินชีวิตอย่างมีจุดมุ่งหมายและอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
3. ประโยชน์แก่ครู
3.1 ช่วยครูให้เข้าใจถึงปัญหาและสาเหตุของปัญหารวมทั้งหาวิธีแก้ปัญหานั้น
3.2 ช่วยครูในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของนักเรียน
3.3 ช่วยครูในการศึกษานักเรียนทำให้รู้จักนักเรียนดีขึ้น
4. ประโยชน์แก่โรงเรียน
4.1 ช่วยโรงเรียนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของนักเรียน
4.2 ช่วยลดปัญหาต่าง ๆ เช่นปัญหานักเรียนเรียนไม่จบหลักสูตร หรือปัญหานักเรียนเรียนอ่อน หรือหนีเรียน เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ความรู้วิชาคริสต์ศาสนา

พระบัญญัติ 10 ประการ ต้อง​นมัสการ​พระ​ยะโฮวา​พระเจ้า​ผู้​เดียว— อพยพ 20:3 อย่า​ไหว้​รูป​เคารพ— อพยพ 20:4-6 อย่า​เอา​ชื่อ​พระเจ...