วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ความรู้วิชาคริสต์ศาสนา

พระบัญญัติ 10 ประการ

  1. ต้อง​นมัสการ​พระ​ยะโฮวา​พระเจ้า​ผู้​เดียว—อพยพ 20:3
  2. อย่า​ไหว้​รูป​เคารพ—อพยพ 20:4-6
  3. อย่า​เอา​ชื่อ​พระเจ้า​ไป​ใช้​ผิด ๆ—อพยพ 20:7
  4. ให้​ถือ​วัน​สะบาโต—อพยพ 20:8-11
  5. ให้​นับถือ​พ่อ​แม่—อพยพ 20:12
  6. อย่า​ฆ่า​คน—อพยพ 20:13
  7. อย่า​เล่นชู้—อพยพ 20:14
  8. อย่า​ขโมย—อพยพ 20:15
  9. อย่า​เป็น​พยาน​เท็จ—อพยพ 20:16
  10. อย่า​โลภ—อพยพ 20:17





ความรู้วิชาประวัติศาสตร์

ศึกษา วิเคราะห์พัฒนาการของอาณาจักรสุโขทัยในด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  วัฒนธรรม  ภูมิปัญญาไทยสมัยสุโขทัย  ความเสื่อมของอาณาจักรสุโขทัย ที่ตั้งและสภาพภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อพัฒนาการทางประวัติศาสตร์  สังคม เศรษฐกิจ  และการเมืองของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ความร่วมมือผ่านการรวมกลุ่มเป็นอาเซียนที่ถือว่าเป็นพัฒนาการของภูมิภาค  ที่ตั้งและความสำคัญของแหล่งอารยธรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  อิทธิพลของอารย-ธรรมโบราณในดินแดนไทยที่มีพัฒนาการของสังคมไทยสมัยปัจจุบัน
                โดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์  กระบวนการสืบค้นข้อมูล  กระบวนการปฏิบัติ  กระบวนการกลุ่ม  กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ  กระบวนการแก้ปัญหา  และวิธีการทางประวัติศาสตร์
                เพื่อให้เกิดความรู้  ความเข้าใจถึงความสำคัญของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ อย่างเป็นระบบ  เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย พัฒนาการด้านต่างๆ วัฒนธรรมไทย ภูมิปัญญาไทย  มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านรักชาติ  ศาสน์  กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต  มีวินัย  ใฝ่เรียนรู้  มุ่งมั่นในการทำงาน  รักความเป็นไทย  และมีจิตสาธารณะ
การสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย

วิดีโอ YOUTUBE

รายการสารคดี "เมืองสุโขทัย" ทางช่อง 9

วิดีโอ YOUTUBE

ความรู้วิชาศิลปะ

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศิลปะ
ศิลปะ หรือ ศิลป์ (สันสกฤ: ศิลฺป) ทั่วๆไปแล้วจะหมายถึงการกระทำหรือขั้นตอนของการสร้างชิ้นงานศิลปะโดยมนุษย์ ศิลปะเป็นคำที่มีความหมายกว้าง แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมีความหมายเกี่ยวกับการสร้างสรรค์สุนทรียภาพ หรือการสร้างอารมณ์ต่างๆ
งานศิลปะ จะรวมถึงชิ้นงานหลายๆชนิดโดยผู้สร้างตั้งใจสร้างชิ้นงานเพื่อสื่อสาร,สื่ออารมณ์,หรือใช้สัญลักษณ์เพื่อให้ผู้ชมชิ้นงานตีความ ผู้สร้างงานศิลปะ มักเรียกรวมๆ ว่า ศิลปิน
ศิลปะอาจรวมไปถึงงานในรูปแบบต่างๆเช่น งานเขียน บทกวี การเต้นรำ การแสดง ดนตรี งานปฏิมากรรม ภาพวาด-ภาพเขียน การจักสาน หรือ อื่นๆ อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่แล้วศิลปะจะหมายถึงงานทางทัศนศิลปะพวก ภาพวาด-ภาพเขียน งานประติมากรรม งานแกะสลัก รวมถึง conceptual art และ installation art
ทัทัศนศิลป์
 มีความหมายตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Visual Art หมายถึง ศิลปะที่สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทตา โดยการมองเห็นมิติที่มีความกว้าง ยาว สูง หรือความหนา สัมผัสจับต้องได้ ใช้กระบวนการถ่ายทอดผลงานโดยใช้จินตนาการสร้างความคิดสร้างสรรค์อย่างมีระบบ มีความสวยงาม ก่อให้เกิดความพึงพอใจ ต่อจิตใจและอารมณ์ของมนุษย์ ได้แก่ ภาพเขียน ภาพพิมพ์ งานปั้น แกะสลักและสิ่งก่อสร้างทัศนศิลป์
ทัศนศิลป์ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ตามสื่อวัสดุที่ใช้ในการสร้างงาน ได้แก่ จิตรกรรม ภาพพิมพ์ ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม
จิตรกรรมจิตรกรรม (Painting) หมายถึง การวาดภาพ ขูด ขีด เขียน และระบาย ลงบนพื้นวัสดุ ได้แก่ กระดาษ ผ้า ผนังปูน แผ่นไม้ แผ่นหิน หรือวัสดุอื่นๆ เป็นการถ่ายทอดความงามและความรู้สึกนึกคิดลงบนพื้น เกิดเป็นภาพ 2 มิติ คือ มีความกว้างและความยาว แสดงเป็นสัญลักษณ์ หรือเรื่องราวตามความคิดของผู้วาด โดยใช้เส้น รูปร่าง รูปทรง สี แสง เงา สร้างให้เกิดภาพลวงตา มีระยะใกล้-ไกล ความตื้น-ลึก มองเห็นเป็นภาพ 3 มิติ
                          
ภาพพิมพ์ภาพพิมพ์ (Printing making) หมายถึง การสร้างงานที่ต้องอาศัยแม่พิมพ์ที่สร้างขึ้นด้วยเทคนิคต่างๆ เป็นต้นแบบสร้างงานที่มีลักษณะเหมือนแม่พิมพ์ได้หลายชิ้น เป็นภาพ 2 มิติ คือมีความกว้างและความยาว แสดงเป็นสัญลักษณ์เรื่องราวตามความคิดของผู้วาด โดยใช้เส้น รูปร่าง รูปทรง สี แสง เงา สร้างให้เกิดภาพลวงตา มีระยะใกล้-ไกล ความตื้น-ลึก มองเห็นเป็นภาพ 3 มิติ เช่นเดียวกับงานจิตรกรรม

ประติมากรรมประติมากรรม (Sculpture) หมายถึง การปั้น แกะสลัก หรือหล่อขึ้นเป็นรูปทรง 3 มิติ เป็นการถ่ายทอดความงามและความรู้สึกนึกคิดเป็นรูปร่าง รูปทรง จากวัสดุต่างๆ ด้วยการปั้นหรือแกะสลัก เช่น ขี้ผึ้ง ดินน้ำมัน ดินเหนียว ปูนปลาสเตอร์ ไม้ หิน เป็นต้น หรือการหล่อ เชื่อม ปะติดด้วยแผ่นโลหะเป็นรูปทรงต่างๆ รูปปั้น แกะสลักและรูปหล่อทั่วๆ ไป เรียกว่า ประติมากรรม ส่วนรูปปั้น แกะสลักและรูปหล่อที่เกี่ยวกับศาสนา เช่น พระพุทธรูป เรียกว่า ปฏิมากรรม” ผู้สร้างสรรค์งานประติมากรรม เรียกว่า ประติมากร

 สถาปัตยกรรมสถาปัตยกรรม (Architecther) หมายถึง สิ่งก่อสร้างทั้งหลายที่ใช้ศิลปะและวิทยาการการก่อสร้างที่สนองความต้องการทางด้านร่างกายของมนุษย์ในเรื่องประโยชน์ใช้สอยและความต้องการด้านความเชื่อ ซึ่งมีรูปแบบที่แสดงเอกลักษณ์ของสังคมนั้นๆ ได้แก่ บ้านเรือนที่พักอาศัย อาคารที่เกี่ยวกับความเชื่อ ความศรัทธาและศาสนา คือ วัด มณฑป ปราสาทราชวัง อาคาร สะพาน รวมถึงการออกแบบผังเมือง และออกแบบตกแต่งบริเวณ (ภูมิสถาปัตย์) ความงามในงานสถาปัตยกรรมจะอยู่ที่สัดส่วนขององค์ประกอบที่สัมพันธ์กันของส่วนต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก ความมั่นคง แข็งแรง และประโยชน์ใช้สอยศนศิลป์ (Visual art)
ขอบข่ายงานทัศนศิลป์
ขอบข่ายของศิลปะแบ่งออกเป็น ประเภท ได้แก่ 1.วิจิตรศิลป์ 2.ประยุกต์ศิลป์ 3.องคฺ์ประกอบศิลปะ ได้แก่ -ทัศนธาตุ -การจัดองค์ประกอบศิลป์.
ความหมายของจุดและเส้น
จุดนั้นเป็นทัศนธาตุที่สามารถสัมผัสและให้ความรู้สึกได้น้อยด้วยจุดเป็นอนุภาคที่มีความกว้าง ความยาว และความหนา น้อยที่สุด เมื่อเทียบกับ บรรดาส่วนประกอบมูลฐาน หรือทัศนธาตุอื่น ซึ่งในทางด้านศาสตร์อื่น ๆ อาจจะตีค่าของจุดในทางต่ำสุด โดยให้คำนิยาม ของจุดว่า เป็นสิ่งที่ ไม่มีความกว้าง ความยาว ความ หนา” แต่ในทางทัศนศิลป์ จุด มีค่า มากมายกว่านั้น ด้วยในทางศิลปะนั้นเกี่ยวข้องกับความรู้สึก มากกว่า การตีความ เพราะ จุด ๆ หนึ่งที่ปรากฏในภาพอาจจะค่อย ๆ แปรเปลี่ยน เป็นสิ่งต่าง ๆ ในจินตนาการก็ได้
เส้น
       เส้น คือ ร่องรอยที่เกิดจากเคลื่อนที่ของจุด  หรือถ้าเรานำจุดมาวางเรียงต่อ ๆ กันไป   ก็จะเกิดเป็นเส้นขึ้น  เส้นมีมิติเดียว  คือ  ความยาว ไม่มีความกว้าง ทำหน้าที่เป็นขอบเขต  ของที่ว่าง รูปร่าง รูปทรง น้ำหนัก  สี   ตลอดจนกลุ่มรูปทรงต่าง ๆ  รวมทั้งเป็นแกนหรือ โครงสร้างของรูปร่างรูปทรง  เส้นเป็นพื้นฐานที่สำคัญของงานศิลปะทุกชนิด เส้นสามารถให้ความหมาย แสดงความรู้สึก และอารมณ์ได้ด้วยตัวเอง และด้วยการสร้างเป็นรูปทรงต่าง ๆ ขึ้น  เส้นมี 2 ลักษณะคือ เส้นตรง   (Straight Line) และ เส้นโค้ง   (Curve Line)  เส้นทั้งสองชนิดนี้  เมื่อนำมาจัดวางในลักษณะต่าง ๆ กัน จะมีชื่อเรียกต่าง ๆ และให้ความหมาย ความรู้สึกที่แตกต่างกันอีกด้วย
เส้นประเภทต่างๆๆ และความรู้สึกของเส้น
ลักษณะของเส้น
    1. เส้นตั้ง หรือ เส้นดิ่ง  ให้ความรู้สึกทางความสูง  สง่า  มั่นคง  แข็งแรง  หนักแน่น เป็นสัญลักษณ์ของความซื่อตรง
    2. เส้นนอน ให้ความรู้สึกทางความกว้าง สงบ ราบเรียบ นิ่ง ผ่อนคลาย
    3. เส้นเฉียง หรือ เส้นทะแยงมุม ให้ความรู้สึก เคลื่อนไหว รวดเร็ว ไม่มั่นคง
    4. เส้นหยัก หรือ เส้นซิกแซก แบบฟันปลา ให้ความรู้สึก คลื่อนไหว อย่างเป็น จังหวะ  มีระเบียบ  ไม่ราบเรียบ น่ากลัว อันตราย ขัดแย้ง ความรุนแรง
    5. เส้นโค้ง แบบคลื่น ให้ความรู้สึก เคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ ลื่นไหล ต่อเนื่อง สุภาพ อ่อนโยน นุ่มนวล
    6. เส้นโค้งแบบก้นหอย ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว คลี่คลาย หรือเติบโตในทิศทางที่หมุนวนออกมา ถ้ามองเข้าไปจะเห็นพลังความเคลื่อนไหวที่ไม่สิ้นสุด
    7. เส้นโค้งวงแคบ ให้ความรู้สึกถึงพลังความเคลื่อนไหวที่รุนแรง  การเปลี่ยนทิศทางที่รวดเร็ว ไม่หยุดนิ่ง
    8. เส้นประ ให้ความรู้สึกที่ไม่ต่อเนื่อง  ขาด  หาย  ไม่ชัดเจน  ทำให้เกิดความเครียด

ความรู้วิชาการงานอาชีพ

1. ครูให้นักเรียนดูภาพมุมต่างๆ ของบ้านทั้งภายในและภายนอก และตอบคำถามว่า ทำไมบ้านจึงน่าอยู่อาศัย บ้านที่น่าอยู่อาศัยควรมีลักษณะอย่างไร ปัจจัยที่ทำให้บ้านน่าอยู่อาศัย และแนวทางในการทำให้บ้านน่าอยู่อาศัยนั้นมีขั้นตอนการทำอย่างไร
2. ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5-7 คน ให้สมาชิกในกลุ่มเลือกหัวข้อจากใบงานที่ 3.1 เรื่อง ขั้นตอนการดูแลรักษาบ้าน แล้วศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากหนังสือเรียน
3. สมาชิกในกลุ่มนำความรู้มารวบรวม อภิปราย เรียบเรียง และสรุปเป็นสาระสำคัญที่ควรรู้ แล้วบันทึกลงในใบงานที่ 3.1
4. ครูให้นักเรียนดูภาพอุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และสารเคมีที่ใช้ในการทำความสะอาดบ้าน แล้วตั้งคำถามว่า นักเรียนมีวิธีการใช้อุปกรณ์เหล่านี้อย่างไรให้ปลอดภัย
5. ครูให้นักเรียนกลุ่มเดิมศึกษาความรู้เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานบ้าน จากหนังสือเรียนและนำความรู้ที่ได้มารวบรวม เรียบเรียง และสรุปเป็นสาระสำคัญ แล้วบันทึกลงในใบงานที่ 3.2 เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานบ้าน
6. ครูให้นักเรียนทำใบงานที่ 3.3 เรื่อง การทำงานบ้านและการจัดตกแต่งห้อง โดยให้แต่ละกลุ่มร่วมกันระดมพลังสมองในการวางแผนการปฏิบัติงาน

ความรู้วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ


ระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศ   หมายถึง  ระบบที่อาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาจัดการกับข้อมูลในองค์กร เพี่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย บุคลากร ฮาร์ดแวร์ ซอร์ฟแวร์ เครือข่ายการสื่อสารและทรัพยากรด้านข้อมูล สำหรับจัดเก็บ รวบรวม ปรับเปลี่ยน และเผยแพร่สารสนเทศเพื่อการนำมาใช้ประโยชน์ในองค์กร
ระบบสารสนเทศประกอบด้วยองค์ประกอบดังนี้
                      1. Hardware หมายถึงอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในการจัดกระทำกับข้อมูล ทั้งที่เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคิดเลข 

        2. Software หมายถึง ชุดคำสั่ง หรือเรียกให้เข้าง่ายว่า โปรแกรมที่สามารถสั่งการให้คอมพิวเตอร์ทำงานในลักษณะที่ต้องการภายใต้ขอบเขตความสามารถที่เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมนั้น ๆ

           3. User หมายถึง กลุ่มผู้คนที่ทำงานหรือเกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ

        4. Data  หมายถึง ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่อาจอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นตัวหนังสือ แสง สี เสียง สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์  ภาพ วัตถุ หรือ หลาย ๆ อย่างผสมผสาน
กัน ซึ่งข้อมูลที่ดีจะต้องตรงกับความต้องการของผู้ใช้ 
                       5. Procedure หมายถึง  ขั้นตอน กระบวนการต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานในระบบสารสนเทศ
 เมื่อทั้ง ส่วนดังกล่าวข้างต้น ทำงานประสานกัน ส่งผลให้ข้อมูลเกิดการประมวลผลและนำไปใช้ประโยชน์ นั่นก็คือ สารสนเทศนั่นเอง ซึ่งสารเสนทศนี้จะเป็นสารสนเทศที่ดี จะต้องเป็นสารสนเทศที่มีความถูกต้องตรงกับความต้องการของผู้ใช้และทันเวลาในการใช้งาน 

กล่าวโดยสรุปก็คือ กระบวนการสารสนเทศเป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดสารเสนเทศขึ้นมานั่นเอง ซึ่งจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ ส่วน นั่นคือ


Hardware – Software - User- Data – Procedure
  
ระดับผู้ใช้สารสนเทศ
            สามารถแบ่งผู้ใช้ระบบสารสนเทศตามการบริหารจัดการได้เป็น ระดับ คือ 

1.  ระดับสูง        เกี่ยวข้องกับผู้บริหารระดับสูง ซึ่งมีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและวางแผนให้องค์กรบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ แหล่งสารสนเทศที่นำมาใช้จะเป็นข้อมูลที่ช่วยในการตัดสินใจได้ง่ายขึ้น โดยมีทั้งสารสนเทศภายในและภายนอกองค์กร เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มและสถานการณ์โดยรวม

2.  ระดับกลาง    เกี่ยวข้องกับผู้ใช้งานในงานระดับการบริหารและจัดการองค์กร ซึ่งมีหน้าที่รับนโยบายมาจากผู้บริหารระดับสูง มาสานต่อให้ได้บรรลุเป้าหมายที่กำหดไว้
ระบบสารสนเทศที่ใช้มักได้มาจากแหล่งข้อมูลภายใน เช่น รายงานยอดขาย ระบบสารสนเทศจึงจำเป็นต้องจัดอันดับทางเลือกแบบต่างๆไว้ โดยใช้ค่าทางสถิติมาช่วยพยากรณ์ หรือทำนายทิศทางไว้ด้วย


3.  ระดับปฏิบัติการ        
            ผู้ใช้กลุ่มนี้จะเกี่ยวข้องกับการผลิตหรือการปฏิบัติงานหลักขององค์กร เช่น การผลิตหรือประกอบสินค้า งานทั่วไปที่ไม่จำเป็นต้องใช้การวางแผนหรือระดับการตัดสินใจมากนัก ข้อมูลหรือสารสนเทศในระดับนี้ จะถูกนำไปประมวลผลในระดับกลางและระดับสูงต่อไป





ประเภทของเทคโนโลยีสารสนเทศ

       1.เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
          คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจดจำข้อมูลต่าง ๆ และปฏิบัติตามคำสั่งที่บอก เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้ คอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ต่อเชื่อมกันเรียกว่า ฮาร์ดแวร์ (Hardware) และอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์นี้จะต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกกันว่า ซอฟต์แวร์ (Software) 
            กระบวนการการจัดการระบบสารสนเทศ เพื่อให้ได้สารสนเทศตามต้องการอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และมีคุณภาพ   ดังแผนภาพต่อไปนี้คือ

2. เทคโนโลยีทางด้านการสื่อสารคมนาคม 
             เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม ใช้ในการติดต่อสื่อสารรับ/ส่งข้อมูลจากที่ไกล ๆ เป็นการส่งของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือที่อยู่ห่างไกลกัน ซึ่งจะช่วยให้การเผยแพร่ข้อมูลหรือสารสนเทศไปยังผู้ใช้ในแหล่งต่าง ๆ เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน และทันการณ์ ซึ่งรูปแบบของข้อมูลที่รับ/ส่งอาจเป็นตัวเลข (Numeric Data) ตัวอักษร (Text) ภาพ (Image) และเสียง (Voice)
เทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารหรือเผยแพร่สารสนเทศ ได้แก่ เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบโทรคมนาคมทั้งชนิดมีสายและไร้สาย เช่น ระบบโทรศัพท์ โมเด็ม แฟกซ์ โทรเลข ดาวเทียม วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ เคเบิ้ลใยแก้วนำแสง และคลื่นไมโครเวฟ  เป็นต้น


สำหรับกลไกหลักของการสื่อสารโทรคมนาคมมีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วน ได้แก่  ต้นแหล่งของข้อความ (Source/Sender) สื่อกลางสำหรับการรับ/ส่งข้อความ (Medium) และส่วนรับข้อความ (Sink/Decoder)



3. เทคโนโลยีระบบสื่อสาร
หมายถึงระบบการสื่อสาร และเครือข่ายที่เป็นส่วนเชื่อมในการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็คทรอนิคส์ในรูปแบบข้อมูลดิจิตอล เช่นเครือข่ายโทรศัพท์ดิจิตอล ระบบสื่อสารเคเบิลใยแก้ว (fiber optic system) รวมถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ WAN (wide area network) เช่น เครือข่าย Internet เป็นต้น



เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 6 รูปแบบ
1. เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น ดาวเทียมถ่ายภาพทางอากาศ กล้องดิจิตอล กล้องถ่ายวีดีทัศน์ และเครื่องเอกซเรย์ เป็นต้น
            2. เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล จะเป็นสื่อบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เช่น เทปแม่เหล็กจานแม่เหล็ก จานแสงหรือจานเลเซอร์ และบัตรเอทีเอ็ม เป็นต้น
            3.เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์
            4. เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล เช่น เครื่องพิมพ์ จอภาพ และพลอตเตอร์ เป็นต้น
            5. เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร ไมโครฟิล์ม เป็นต้น
            6. เทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอดหรือสื่อสารข้อมูล ได้แก่ ระบบโทรคมนาคมต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง โทรเลข และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งระยะใกล้และไกล
ประโยชน์ที่ได้จากเทคโนโลยีสารสนเทศ

1. ช่วยให้ติดต่อสื่อสารระหว่างกันอย่างสะดวกรวดเร็วโดยใช้โทรศัพท์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
            2. ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาล ซึ่งผลิตออกมาในแต่ละวัน
            3. ช่วยให้เก็บข้อมูลไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้ครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างสะดวก 
            4. เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้อมูล เช่น ช่วยนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร ในการคำนวณตัวเลขที่ยุ่งยาก ซับซ้อนซึ่งไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ด้วยมือ
            5. สามารถจัดระบบอัตโนมัติเพื่อเก็บเรียกใช้และประมวลผลข้อมูล
            6. สามารถจำลองแบบระบบการวางแผนและทำนาย เพื่อทดลองกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น
            7. อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลดีกว่าสมัยก่อน ทำให้ผู้ใช้มี ทางเลือกที่ดีกว่า มีประสิทธิภาพกว่า และสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ดีกว่า
            8. ช่วยให้มีการตัดสินใจที่ดีขึ้น จากการมีสารสนเทศประกอบการตัดสินใจและพิจารณาทางเลือกภายใต้เงื่อนไขต่าง ๆ
            9. ลดค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นผลมาจากการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้ประหยัด
เวลาการทำงานหรือลดค่าใช้จ่ายในการทำงานลง
                10. พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนโดยมีการค้นคว้าผ่านระบบเครือข่าย เพิ่มโอกาสให้นักศึกษาสามารถสืบค้นข้อมูลได้จากสถานที่อื่นนอกมหาวิทยาลัย เป็นการฝึกให้รู้จักเรียนรู้ด้วยต้นเองมากขึ้น

ปัจจัยที่ทำให้เกิดความล้มเหลวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
            ปัจจัยของความล้มเหลวหรือความผิดพลาดที่เกิดจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์กร มีสาเหตุหลัก 3 ประการ ได้แก่
            1. การขาดการวางแผนที่ดีพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวางแผนจัดการความเสี่ยงไม่ดีพอ ยิ่งองค์กรมีขนาดใหญ่มากขึ้นเท่าใด การจัดการความเสี่ยงย่อมจะมีความสำคัญมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านนี้เพิ่มสูงขึ้น
2. การนำเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมมาใช้งาน การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในองค์กรจำเป็นต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับลักษณะของธุรกิจหรืองานที่องค์กรดำเนินอยู่ หากเลือกใช้เทคโนโลยีที่ไม่สอดรับกับความต้องการขององค์กรแล้วจะทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา และเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุ
3.  การขาดการจัดการหรือสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง การที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้งานในองค์กร หากขาดซึ่งความสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงแล้วก็ถือว่าล้มเหลวตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มต้น การได้รับความมั่นใจจากผู้บริหารระดับสูงเป็นก้าวย่างที่สำคัญและจำเป็นที่จะทำให้การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์กรประสบความสำเร็จ

การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ไม่ประสบความสำเร็จในด้านผู้ใช้งานนั้น
1. ความกลัวการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ ผู้คนกลัวที่จะเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งกลัวว่าเทคโนโลยีสารสนเทศจะเข้ามาลดบทบาทและความสำคัญในหน้าที่การงานที่รับผิดชอบของตนให้ลดน้อยลง จนทำให้ต่อต้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
2. การไม่ติดตามข่าวสารความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก หากไม่มั่นติดตามอย่างสม่ำเสมอแล้วจะทำให้กลายเป็นคนล้าหลังและตกขอบ จนเกิดสภาวะชะงักงันในการเรียนรู้และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
3. โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศกระจายไม่ทั่วถึง ทำให้ขาดความเสมอภาคในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเกิดการใช้กระจุกตัวเพียงบางพื้นที่ ทำให้เป็นอุปสรรคในการใช้งานด้านต่าง ๆ ตามมา เช่น ระบบโทรศัพท์ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง

วิดีโอ YOUTUBE

ความรู้วิชาลูกเสือ-เนตรนารี

  1. 1. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ( ลูกเสือ – เนตรนารี ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพรศิริกุล จำานวน 40 ชั่วโมง ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ชื่อหน่วย / สาระการเรียนรู้ เวลา / ชั่วโมง 1. บอกโครงสร้างและการบริหาร งานของคณะลูกเสือแห่งชาติได้ 2. บอกกิจการขององค์การลูกเสือ โลกได้ 3. บอกความสัมพันธ์ระหว่างลูกเสือ นานาชาติได้ 4. อธิบายบทบาทของตนในฐานะที่ เป็นลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ที่มีต่อ ชุมชนได้ 1. กิจการลูกเสือ - กิจการของคณะลูกเสือแห่งชาติ - กิจการของคณะลูกเสือโลก - บทบาทของตนในฐานะที่เป็น ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ 6 1. ปฏิบัติในการฝึกระเบียบแถวเป็น บุคคลท่ามือเปล่าได้ 2. ปฏิบัติตนในการฝึกระเบียบแถว เป็นรายบุคคลท่ามือเปล่า ท่าไม้ ง่ามได้ 3. ปฏิบัติการฝึกแถวเป็นหมู่และกอง ได้ 2. ระเบียบแถว - การฝึกบุคคลท่ามือเปล่า - การฝึกบุคคลท่าไม้พลองหรือไม้ ง่าม - การฝึกเป็นหมู่คณะ - การฝึกสัญญาณมือ 6 1. อธิบายความหมายของคำา ปฏิญาณ กฎและคติพจน์ของลูก เสือได้ 2. นำาคำาปฏิญาณ กฎ และคติพจน์ ของลูกเสือไปใช้ในชีวิตประจำา วันได้ 3. ยอมรับและปฏิบัติตามกฎและ คติพจน์ของลูกเสือ - คำาปฏิญาณ กฎ และคติพจน์ของ ลูกเสือ 3 1. บอกส่วนประกอบที่สำาคัญของ เต็นท์ได้ 2. กางและรื้อเต็นท์ได้ถูกต้อง 3. บอกวิธีการเก็บระวังรักษาเต็นท์ ให้ใช้ได้ผลอย่างคุ้มค่า 4. กางและรื้อเต็นท์ที่พักแรมใน เวลากลางคืน - การกาง การรื้อเต็นท์ การเก็บ และระวังรักษาเต็นท์ 4 1. บรรจุเครื่องหลังได้อย่างถูกต้อง 5. สาธิตการบรรจุเครื่องหลังอย่าง ถูกต้องสำาหรับการเดินทางไกล - การบรรจุสิ่งของลงในเครื่องหลัง ให้เรียบร้อย 2 1. เลือกไม้ทำาฟืนและถ่านได้ 2. ก่อไฟกลางแจ้งได้ 3. บอกวิธีการก่อไฟกลางแจ้งได้ 4. เลือกวิธีการปรุงอาหารให้เหมาะ สมได้ 5. ปรุงอาหารรับประทานได้ 6. ก่อและจุดไฟกลางแจ้งเพื่อปรุง อาหารอย่างเพียงพอสำาหรับ 2 คน - การเลือกสถานที่จุดไฟ - การทำาเชื้อเพลิง - การจุดไม้ขีด - การก่อไฟ - การประกอบอาหาร 4 1. บอกความหมายของชนิดและ 7. แผนที่และเข็มทิศ 4
  2. 2. แผนที่ได้ 2. อ่านและใช้แผนที่ได้ 3. บอกความหมายและส่วนประกอบ ของเข็มทิศได้ 4. ใช้เข็มทิศได้ถูกต้อง 5. หาทิศโดยการสังเกตจากสิ่ง แวดล้อมได้ - ความหมายและชนิดของแผนที่ - การอ่านแผนที่ - ความหมายส่วนประกอบของ เข็มทิศ - วิธีใช้เข็มทิศ - การหาทิศ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ชื่อหน่วย / สาระการเรียนรู้ เวลา / ชั่วโมง 1. ผูกเงื่อนที่จำาเป็นสำาหรับลูกเสือ สามัญรุ่นใหญ่ได้อย่างน้อย 5 เงื่อน 2. บอกประโยชน์ของเงื่อนต่างๆ ได้ 3. ผูกแน่นได้ 4. บอกประโยชน์ของการผูกแน่น ได้ 8. เงื่อน - การผูกเงื่อนระดับลูกเสือสามัญ รุ่นใหญ่ 9 เงื่อน - การผูกแน่น 4 1. บอกความหมายของการ ปฐมพยาบาลได้ 2. อธิบายหลักการปฏิบัติในการ ปฐมพยาบาลและประโยชน์ที่ได้ รับ 3. สาธิตวิธีการปฐมพยาบาล บาดแผลธรรมดาและบาดแผล ถลอก คนเป็นลม ผู้ที่ข้อต่อเกล็ด หรือแพลง ผู้ที่ถูกไฟไหม้หรือนำ้า ร้อนลวก และแผลที่เกิดจากสัตว์ มีพิษกัดต่อยได้ 4. ตระหนักและเห็นคุณค่าของการ ปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บ 9. การปฐมพยาบาล - การรู้วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการ ปฐมพยาบาล 4 1. อธิบายความปลอดภัยในการ ปฏิบัติกิจกรรมบุกเบิกได้ 2. บอกข้อควรคำานึงในการปฏิบัติ กิจกรรมบุกเบิกได้ 3. ใช้อุปกรณ์ในงานบุกเบิกได้อย่าง ปลอดภัย 4. บอกข้อควรปฏิบัติเกี่ยวกับ กิจกรรมผจญภัยของลูกเสือใน เวลากลางคืนได้ 5. อธิบายสาเหตุที่ทำาให้เกิด อุบัติเหตุในขณะปฏิบัติกิจกรรม ผจญภัยได้ 6. เลือกปฏิบัติกิจกรรมทางนำ้า ทาง บกหรือทางอากาศได้อย่างถูก ต้องและปลอดภัย 7. อธิบายสิ่งที่สำาคัญสำาหรับการเดิน ทางไกลได้อย่างถูกต้อง 10. ความปลอดภัยเกี่ยวกับ กิจกรรมของลูกเสือสามัญรุ่น ใหญ่ - ความปลอดภัยในการปฏิบัติ กิจกรรมบุกเบิก การผจญภัย และการเดินทาง ไกล 3
  3. 3. 8. ปฏิบัติกิจกรรมเดินทางไกลได้ ด้วยความปลอดภัย รวม 40 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ( ลูกเสือ – เนตรนารี ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนพรศิริกุล จำานวน 40 ชั่วโมง ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ชื่อหน่วย / สาระการ เรียนรู้ เวลา / ชั่วโมง 1. บอกประวัติการลูกเสือไทยในยุคต่างๆ ได้ 2. ลำาดับเหตุการณ์ความเป็นมาของยุค ต่างๆ ของลูกเสือได้ 3. บอกวิธีการดำาเนินการของขบวนการลูก เสือได้ 4. เข้าใจความหมายของระบบหมู่ของลูก เสือ 5. นำาความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิต ประจำาวันได้ 6. เข้าใจถึงประโยชน์และความสำาคัญของ การเยี่ยมหน่วยงานและสถาบัน 7. เข้าใจวัตถุประสงค์ของการเยี่ยมหน่วย งานและสถานบัน 8. บอกลักษณะของหน่วยงานหรือสถาบัน ที่ควรไปเยี่ยมได้ 9. เข้าใจหลักการเตรียมตัวก่อนการเยี่ยม หน่วยงานหรือสถาบัน 10. รู้ประโยชน์ของการเยี่ยมหน่วยงาน หรือสถาบัน 11. ปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมในการเยี่ยม หน่วยงานหรือสถาบัน 1. หน้าที่พลเมือง - ประวัติของลูกเสือไทย - วิธีดำาเนินการของ ขบวนการลูกเสือ - การเยี่ยมหน่วยงานหรือ สถาบัน 5 1. บอกความหมายและประเภทของสิ่ง แวดล้อมได้ 2. ตระหนักถึงความสำาคัญของสิ่งแวดล้อม 3. รู้และเข้าใจถึงหลักของการอนุรักษ์สิ่ง 2. สิ่งแวดล้อม - ความหมายและความ สำาคัญของสิ่งแวดล้อม - วิธีการอนุรักษ์สัตว์ละพืช 6
  4. 4. แวดล้อมทางธรรมชาติ 4. ตระหนักถึงความสำาคัญของสิ่งแวดล้อม ที่มีต่อมนุษย์ 5. รู้และเข้าใจถึงประโยชน์ของทรัพยากร นำ้า อากาศ และดิน 6. ตระหนักถึงความสำาคัญของสัตว์ป่าและ พืชในท้องถิ่น 7. แยกประเภทของสัตว์ป่าและพืชได้ 8. รู้วิธีปฏิบัติงานเพื่อการอนุรักษ์สัตว์ป่า และพืชได้อย่างเหมาะสม 9. ตระหนักถึงความสำาคัญของข้อปฏิบัติ ในการเดินทางไกลเพื่ออนุรักษ์ ธรรมชาติ 10. ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติในการเดินทาง ไกลอย่างถูกต้อง 11. รู้และเข้าใจถึงสาเหตุของการเกิด มลภาวะ 12. แยกปัญหามลภาวะของดิน นำ้า อากาศ และเสียงได้รู้วิธีการป้องกันและ ควบคุมมลภาวะ 13. นำาความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิต ประจำาวัน 14. รู้และเข้าใจวิธีการจัดทำาโครงการ อนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 15. ปฏิบัติกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ของ โครงการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อม - การอนุรักษ์ธรรมชาติ 1. รู้และเข้าใจถึงความหมายและ ประโยชน์ของการเดินทางสำารวจ 2. มีทัศนคติที่ดีต่อการเดินทางสำารวจ 3. รู้และเข้าใจหลักในการจัดเตรียม อุปกรณ์และเครื่องใช้ในการเดินทาง สำารวจ 4. รู้หลักทั่วไปของการเดินทางสำารวจ ด้วยเท้า รถจักรยาน และเรือ 5. จัดทำารายงานหลังการเดินทางสำารวจ 3. การเดินทางสำารวจ - หลักในการเดินทาง สำารวจด้วยการเดินเท้า - การจัดอาหารและ อุปกรณ์เวชภัณฑ์ที่ จำาเป็น - การทำาแบบรายงาน สำารวจ 3 ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ชื่อหน่วย / สาระการ เรียนรู้ เวลา / ชั่วโมง 1. รู้และเข้าใจความหมายของศิลปะใน แขนงต่างๆ 2. แยกประเภทของศิลปะได้ 3. นำาเอาศิลปะไปประยุกต์ใช้ในชีวิต ประจำาวันได้ 4. รู้และเข้าใจเกี่ยวกับศิลปะทางอักษร ศาสตร์และศิลปะการวิจารณ์ 5. เข้าใจหลักการเป็นนักอ่าน นักเขียน และนักวิจารณ์ที่ดี 4. การแสดงออกทางศิลปะ - ศิลปการแสดง - ทัศนศิลป์และวาดภาพ ปั้น ถ่ายภาพ การ ประดิษฐ์ แกะสลัก - การช่าง - ศิลปทางอักษรศาสตร์และ ศิลปการวิจารณ์ 3
  5. 5. 1. มีความรู้ ความเข้าใจถึงการมี สมรรถภาพทางกายที่ดี 2. รู้ประโยชน์ของการเสริมสร้าง สมรรถภาพทางกาย 3. ปฏิบัติตนให้มีสมรรถภาพทางกายที่ดี 4. ตระหนักถึงความสำาคัญของการทดสอบ สมรรถภาพทางกาย 5. สาธิตท่าทางการทดสอบสมรรถภาพ ทางกายได้ถูกต้อง 6. นำาความรู้เกี่ยวกับการทดสอบ สมรรถภาพทางกายไปประยุกต์ใช้ใน ชีวิตประจำาวัน 7. มีความรู้ความเข้าใจถึงสาเหตุ ประเภท ของสิ่งเสพติดที่มีผลต่อสุขภาพ 8. มีทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับสิ่งเสพติด 9. ปฏิบัติตนเป็นผู้ห่างไกลจากสิ่งเสพติด 10. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเภท ของกีฬาไทยและสากล 11. แยกประเภทของกีฬาได้ 12. มีทักษะในการเล่นกรีฑาและ แบดมินตันที่ดี 13. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกีฬา ฟุตบอล 14. มีทักษะที่ถูกต้องในการเล่นฟุตบอล 15. ปฏิบัติตนในการเล่นฟุตบอลอย่าง ปลอดภัย 16. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกีฬา เซปักตะกร้อ 17. มีทักษะในการเล่นเซปักตะกร้อที่ถูก ต้อง 18. ปฏิบัติตามกฎ กติกา และมารยาท ของเซปักตะกร้ออย่างเหมาะสม 5. สมรรถภาพทางกาย - มาตรฐานการทดสอบ สมรรถภาพทางกาย - ความหมายชนิดและโทษ ของสิ่งเสพติด - กีฬาไทยและกีฬาสากล 6 1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎและคำา ปฏิญาณของลูกเสือ 2. ตระหนักถึงความสำาคัญของกฎและคำา ปฏิญาณของลูกเสือ 3. ปฏิบัติตามกฎและคำาปฏิญาณของลูก เสืออย่างเหมาะสม 4. มีความรู้ เข้าใจและตระหนักถึงความ สำาคัญเกี่ยวกับศิล 5 และศิล 8 5. ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติของศิล 5 และศิล 8 6. รู้ เข้าความหมาย ตระหนักถึงความ สำาคัญและเห็นประโยชน์ของการอารา ธนาศิล อาราธนาธรรม อาราธนาพระ ปริต 7. อาราธนาศิล อาราธนาธรรมและ อาราธนาพระปริตรได้ 6. อุดมคติ - คำาปฏิญาณและกฎของ ลูกเสือ - ศิล 5 และศิล 8 - อาราธนาศิล อาราธนา ธรรม และอาราธนาพระ ปริตร - หลักสำาคัญในพระพุทธ ศาสนา 6
  6. 6. 8. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักธรรม หมวดธรรมวิภาคและหมวดคิหิปฏิบัติ 9. ตระหนักถึงความสำาคัญของหลักธรรม หมวดธรรมวิภาคและหมวดคิหิปฏิบัติ 10. นำาหลักธรรมหมวดธรรมวิภา คหมวดคิหิปฏิบัติไปประยุกต์ในชีวิต ประจำาวันได้ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ชื่อหน่วย / สาระการ เรียนรู้ เวลา / ชั่วโมง 1. มีความเข้าใจหลักของความปลอดภัย ในกิจกรรมที่ใช้กำาลังกาย สติปัญญา และวิทยาการ 2. ตระหนักถึงความสำาคัญของหลักของ ความปลอดภัยในกิจกรรมที่ใช้กำาลัง กาย สติปัญญา และวิทยาการ 3. ปฏิบัติตนโดยยึดหลักของความ ปลอดภัยในกิจกรรมที่ใช้กำาลังกาย สติ ปัญญา และวิทยาการ 4. นำาความรู้เรื่องความปลอดภัยไป ประยุกต์ใช้ในการดำาเนินชีวิตได้ 7. กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ - กฎแห่งวามปลอดภัย - กิจกรรมที่ใช้กำาลังกาย - กิจกรรมที่ใช้สติปัญญา - กิจกรรมวิทยาการ 5 1. บอกความหมายของชุมชน การบริการ และการพัฒนาชุมชนได้ 2. มีความเข้าใจเกี่ยวกับชุมชน การ บริการและการพัฒนาชุมชน 3. บอกประโยชน์ที่ได้รับจาการบริการ ชุมชน 4. จัดทำาโครงการเกี่ยวกับการพัฒนา ชุมชนได้ 5. ตระหนักถึงความสำาคัญของการมีส่วน ร่วมในการพัฒนาชุมชน 6. ร่วมกิจกรรมพัฒนาชุมชนกับชุมชน ทั่วไปได้ 7. รู้จักการบำาเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวม 8. มีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎของลูกเสือที่ เกี่ยวกับการให้บริการชุมชน 9. ตระหนักถึงความสำาคัญของกฎของลูก เสือที่เกี่ยวกับการให้บริการ ชุมชน 10. ปฏิบัติตามกฎของลูกเสือในการ บริการชุมชนได้ 11. เข้าใจวัตถุประสงค์ของการ ปฐมพยาบาลเบื้องต้น 12. ตระหนักถึงความสำาคัญของการ ปฐมพยาบาลเบื้องต้น 13. ปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้อย่างถูก ต้อง 14. ดัดแปลงอุปกรณ์ต่างๆ แทนเครื่อง 8. บริการ - ความหมายของชุมชน การบริการและการ พัฒนาชุมชน - กิจกรรมเกี่ยวกับการ พัฒนาชุมชน - การบริการชุมชนตามกฎ ของลูกเสือ - การปฐมพยาบาล 6
  7. 7. มือปฐมพยาบาลได้ 15. มีความเข้าใจหลักของการเคลื่อน ย้ายผู้ป่วยที่ถูกต้อง 16. รู้วิธีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยวิธีการ ต่างๆ 17. ทดสอบภาคปฏิบัติการเคลื่อนย้ายผู้ ป่วยได้ 18. มีความรู้และเข้าใจถึงสาเหตุที่ทำาให้ เกิดเหตุฉุกเฉิน 19. รู้วิธีการเตรียมตัวสำาหรับเวลาเกิด เหตุฉุกเฉิน 20. ปฏิบัติตนในขณะเกิดเหตุฉุกเฉินได้ อย่างถูกต้อง 21. ขอความช่วยเหลือจากหน่วยงาน ต่างๆ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินได้ รวม 40 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ( ลูกเสือ – เนตรนารี ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพรศิริกุล จำานวน 40 ชั่วโมง ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ชื่อหน่วย / สาระการ เรียนรู้ เวลา / ชั่วโมง 1. รู้และเข้าใจบทบาทหน้าที่ของกรรมการ กองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ 2. อธิบายโครงสร้างของการจัดองค์กรของ คณะกรรมการดำาเนินการกองลูกเสือ 3. ปฏิบัติกิจกรรมตามแผนปฏิบัติงานของกอง ลูกเสือ 4. รู้และเข้าใจหลักของการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยของไทย 5. เข้าใจบทบาทพระมหากษัตริย์กับการ ปกครองระบอบประชาธิปไตย 6. ตระหนักถึงความสำาคัญของการเลือกตั้ง และพรรคการเมือง 7. ปฏิบัติตนตามหลักการการปกครองระบอบ ประชาธิปไตย 8.รู้และเข้าใจถึงความสำาคัญของบทบาท หน้าที่พรรคการเมือง 9. อธิบายระบบพรรคการเมืองไทย 10. เห็นความสำาคัญของการดำาเนินงานของ รัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย 11. ปฏิบัติตนตามหน้าที่พลเมืองที่ดีของ ประเทศ 1. บทบาทและหน้าที่ของ กรรมการกองลูกเสือ สามัญรุ่นใหญ่ - บทบาทและหน้าที่ของ กรรมการกองลูกเสือ สามัญรุ่นใหญ่ - การปกครองในระบอบ ประชาธิปไตย 3 1. มีความเข้าใจนโยบายของรัฐบาลไทย เกี่ยวกับต่างประเทศ 2. นโยบายของรัฐบาล ไทยเกี่ยวกับต่างประเทศ 3
  8. 8. 2. ตระหนักถึงความสำาคัญของความสัมพันธ์ อันดีกับนานาชาติ 3. บอกจุดมุ่งหมายเพื่อรักษาผลประโยชน์ ของชาติและนานาชาติร่วมกัน 4. รู้ประวัติความเป็นมาขององค์การ สหประชาชาติ 5. เข้าใจหลักการและวัตถุประสงค์ของ องค์การสหประชาชาติ 6. อธิบายโครงสร้างและหน้าที่ขององค์การ สหประชาชาติ 7. มีความรู้ความเข้าใจกับองค์การชำานัญ พิเศษขององค์การสหประชาชาติ 8. บอกหน้าที่ความรับผิดชอบขององค์กร ต่างๆ 9. ชี้แจงถึงผลงานการปฏิบัติงานของ องค์การสหประชาชาติ - นโยบายของรัฐบาลไทย เกี่ยวกับต่างประเทศ - หลักการดำาเนินงานของ สหประชาชาติ 1. บอกความหมายของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมได้ 2. จำาแนกประเภทของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมได้ 3. รู้และเข้าใจปัญหาตลอดจนวิธีแก้ไข ปัญหาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นของตนได้ 4. เข้าใจบทบาทของตนเองที่ทีต่อการ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น 5. จำาแนกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการ อนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 6. อธิบายอำานาจและหน้าที่ของหน่วยงานที่ ดูแลเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ 7. ปฏิบัติตนเป็นผู้อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างถูก ต้องเหมาะสม 8. รู้และเข้าใจความหมายของการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติชนิด 3.การอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม และหน่วย งานที่เกี่ยวข้อง - ปัญหาสิ่งแวดล้อมใน ท้องถิ่นและหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม - การอนุรักษ์ดิน นำ้า พันธุ์ ไม้ หรือสัตว์และสถานที่ สำาคัญทางประวัติศาสตร์ 4 ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ชื่อหน่วย / สาระการ เรียนรู้ เวลา / ชั่วโมง ต่างๆ 9. บอกแนวทางในการอนุรักษ์และนำา ทรัพยากรมาใช้ให้เกิดประโยชน์ 10. บอกวิธีการอนุรักษ์ทรัพยากร ดิน,นำ้า,สัตว์และพืช 11. ปฏิบัติตามหลักการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ 12. รู้และเข้าใจความหมายของโบราณ สถาน โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ 13. ตระหนักถึงความสำาคัญของสิ่งสำาคัญ ทางประวัติศาสตร์ 14. บอกวิธีการอนุรักษ์สิ่งสำาคัญทาง ประวัติศาสตร์
  9. 9. 1. อธิบายหลักทั่วไปของการเดินทางสำารวจ วิธีต่างๆ 2. บอกประโยชน์ที่ได้รับจากการเดินทาง สำารวจ 3. สามารถจัดเตรียมสิ่งของในการเดินทาง สำารวจได้อย่างเหมาะสม 4. รู้และเข้าใจหลักการของความปลอดภัยใน การเดินทางสำารวจโดยทางเท้า รถจักรยาน และเรือ 5. ยกตัวอย่างการเดินทางสำารวจเพื่อความ ปลอดภัย 6. นำาความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำาวัน ได้ 4. การเดินทางสำารวจ - การเดินทางสำารวจ 2 1. ตระหนักถึงคุณค่าและประโยชน์ของงาน ทางด้านศิลปะ 2. แยกประเภทของงานศิลปะได้ 3. บอกขั้นตอนของศิลปะการแสดงและการ อภิปราย 4. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทัศนศิลป์ การช่าง ศิลปะทางอักษรศาสตร์ และศิลปะ การวิจารณ์ 5. ตระหนักถึงความสำาคัญและประโยชน์ของ ทัศนศิลป์ การช่าง ศิลปะทางอักษรศาสตร์ และศิลปะการวิจารณ์ 6. นำาความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำาวัน ได้ 5. การจัดแสดงงานศิลปะ ต่อที่สาธารณะ - การจัดแสดงงานศิลปะ ในที่สาธารณะ 2 1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกีฬาประเภท บุคคล 2.ตระหนักถึงความสำาคัญของการเล่นกีฬา 3.มีทักษะในการปฏิบัติเกี่ยวกับกีฬาประเภท บุคคล 4. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกีฬาเซปัก ตะกร้อ 5. บอกประโยชน์ของการเล่นกีฬาเซปัก ตะกร้อ 6. ปฏิบัติตามกฎ กติกาของการเล่นเซปัก ตะกร้อ 7. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิ่งผลัด 8. บอกประโยชน์ที่ได้รับของการวิ่งผลัด 9. ปฏิบัติตามกฎ กติกาของการเล่น 10. นำาความรู้ที่ได้จากการวิ่งผลัดไป ประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพ 6. กีฬาประเภทบุคคลและ ประเภททีม - กีฬาประเภทบุคคล -กีฬาประเภททีม 3 1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักธรรม ต่างๆ เช่น ศิล๕,อกุศลมูล๓ , อคติ ๔ , อิทธิ บาท ๔ , พรหมวิหาร ๔ , สัปปุริสธรรม ๗ , และสังคหวัตถุ ๔ 2. ตระหนักถึงความสำาคัญของหลักธรรม ศิล 7. หลักธรรมทางศาสนา กับการแก้ปัญหาสังคม - หลักธรรมทางศาสนากับ คำาปฏิญาณและกฎของลูก เสือ 4
  10. 10. ๕,อกุศลมูล๓ ,อคติ ๔ , อิทธิบาท ๔ , พรหม วิหาร ๔ , สัปปุริสธรรม ๗ , และสังคหวัตถุ ๔ -หลักธรรมของศาสนากับ การแก้ปัญหา ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ชื่อหน่วย / สาระการ เรียนรู้ เวลา / ชั่วโมง 3. นำาหลักธรรมไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำา วัน 4. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎและคำา ปฏิญาณของลูกเสือ 5. ตระหนักถึงความสำาคัญของกฎและคำา ปฏิญาณของลูกเสือ 6. จำาแนกหลักธรรมที่สอดคล้องกับกฎและคำา ปฏิญาณของลูกเสือ 7. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักธรรมที่ ใช้แก้ปัญหาสังคมไทย 8. ตระหนักถึงความสำาคัญของหลักธรรมที่นำา มาใช้แก้ปัญหาสังคม 9. นำาหลักธรรมมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำา วัน 10. ตระหนักถึงสภาพปัญหาของสังคมใน ปัจจุบัน 11. ระบุปัญหาประเภทต่างๆ ในสังคม 12. สามารถนำาหลักธรรมมาประยุกต์ใช้ใน สังคมปัจจุบัน สังคม 1. บอกความหมาย จุดประสงค์ และองค์ ประกอบของการโต้วาที 2. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการโต้วาที 3. ตระหนักถึงความสำาคัญของการโต้วาที 4. อธิบายขั้นตอนของวิธีการจัดการแข่งขัน โต้วาที 5. สามารถจัดดำาเนินการแข่งขันโต้วาที 6. บอกประโยชน์ที่ได้รับจากการโต้วาที 7. มีความเข้าใจเกี่ยวกับการโต้วาที 8. ให้ข้อเสนอแนะในการโต้วาทีอย่างเหมาะ สม 9. สามารถนำาความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำาวัน 8. การโต้วาที - การโต้วาที 3 1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับขบวนการลูก เสือ 2. บอกประวัติโดยย่อของลอร์ด เบเดน โพ เอลล์ และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้า อยู่หัว 3. สรุปวิวัฒนาการของการลูกเสือโลกและลูก เสือไทย 4. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมกลาง แจ้ง กฎ และคำาปฏิญาณของลูกเสือ 5. บอกประโยชน์ของกิจกรรมกลางแจ้ง 6. ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งของลูกเสืออย่าง 9. ขบวนการลูกเสือ กิจกรรมกลางแจ้ง และ ระเบียบแถว - ขบวนการลูกเสือ - กิจกรรมกลางแจ้ง คำา ปฏิญาณและกฎของลูก เสือสามัญ - ระเบียบแถว 9
  11. 11. ถูกวิธี 7. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับท่ามือเปล่า และท่าอาวุธ 8. บอกประโยชน์ของการใช้ท่ามือเปล่าและ ท่าอาวุธ 9. สามารถปฏิบัติตามระเบียบแถวในท่ามือ เปล่าและท่าอาวุธ 10. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสัญญาณมือ นกหวีด และการตั้งแถวรูปแบบต่างๆ 11. บอกประโยชน์ที่ได้รับจากเรื่องสัญญาณ มือ นกหวีด และการตั้งแถวรูปแบบต่างๆ 12. สาธิตการใช้สัญญาณมือ นกหวีด และ การตั้งแถวรูปแบบต่างๆ 1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำาคัญ ของภาวการณ์เป็นผู้นำา 2. บอกลักษณะและคุณสมบัติของการเป็น ผู้นำาที่ดี 3. แยกประเภทของผู้นำาท้องถิ่นอย่างถูกต้อง เหมาะสม 4. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ประกอบ ที่ช่วยสร้างความเป็น 10. ภาวะผู้นำาและการฝึก อบรมวิชาการเป็นผู้นำา - ผู้นำาท้องถิ่น คุณสมบัติ ของผู้นำา และองค์ประกอบ ในการสร้างความเป็น- 7 ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ชื่อหน่วย / สาระการ เรียนรู้ เวลา / ชั่วโมง ปึกแผ่น 2. ตระหนักถึงความเป็นปึกแผ่นของชุมชน และประเทศชาติ 3. ปฏิบัติตนเป็นผู้ช่วยสร้างความเป็นปึกแผ่น 4. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแบบฝึกและ ทดสอบการเป็นผู้นำาประเภทต่างๆ 5. ตระหนักถึงความสำาคัญของแบบฝึกหรือ แบบทดสอบประเภทต่างๆ 6. สามารถนำาแบบฝึกหรือแบบทดสอบไป ประยุกต์ใช้ได้ 7. ตระหนักถึงประโยชน์ของแบบฝึกและแบบ ประเมินผลการทดสอบของการฝึกการเป็น ผู้นำา 8. สามารถนำาแบบทดสอบและแบบประเมิน ผลการเป็นผู้นำาไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมลูก เสือ ปึกแผ่น - การอบรมวิชาการเป็น ผู้นำา รวม 40

ความรู้วิชาดนตรี-นาฏศิลป์

นาฎศิลป์ คือ การร่ายรำที่มนุษย์ได้ปรุงแต่งจากลีลาตามธรรมชาติให้สวยสดงดงาม โดยมีดนตรีเป็นองค์ประกอบในการร่ายรำ
นาฎศิลป์ของไทย แบ่งออกตามลักษณะของรูปแบบการแสดงเป็นประเภทใหญ่ ๆ 4 ประเภท คือ

1. โขน

ทศกัณฑ์
เป็นการแสดงนาฎศิลป์ชั้นสูงของไทยที่มีเอกลักษณ์ คือ ผู้แสดงจะต้องสวมหัวที่เรียกว่า หัวโขน และใช้ลีลาท่าทางการแสดงด้วยการเต้นไปตามบทพากย์ การเจรจาของผู้พากย์และตามทำนองเพลงหน้าพาทย์ที่บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ เรื่องที่นิยมนำมาแสดง คือ พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ แต่งการเลียนแบบเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์ที่เป็นเครื่องต้น เรียกว่าการแต่งกายแบบ “ยื่นเครื่อง” มีจารีตขั้นตอนการแสดงที่เป็นแบบแผน นิยมจัดแสดงเฉพาะพิธีสำคัญได้แก่ งานพระราชพิธีต่าง ๆ

2. ละคร

ละครใน
เป็นศิลปะการร่ายรำที่เล่นเป็นเรื่องราว มีพัฒนาการมาจากการเล่านิทาน ละครมีเอกลักษณ์ในการแสดงและการดำเนินเรื่องด้วยกระบวนลีลาท่ารำ เข้าบทร้อง ทำนองเพลงและเพลงหน้าพาทย์ที่บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ มีแบบแผนการเล่นที่เป็นทั้งของชาวบ้านและของหลวงที่เรียกว่า ละครโนราชาตรี ละครนอก ละครใน เรื่องที่นิยมนำมาแสดงคือ พระสุธน สังข์ทอง คาวี อิเหนา อุณรุท นอกจากนี้ยังมีละครที่ปรับปรุงขึ้นใหม่อีกหลายชนิด การแต่งกายของละครจะเลียนแบบเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์ เรียกว่า การแต่งการแบบยืนเครื่อง นิยมเล่นในงานพิธีสำคัญและงานพระราชพิธีของพระมหากษัตริย์

3. รำ และ ระบำ

เป็นศิลปะแห่งการร่ายรำประกอบเพลงดนตรีและบทขับร้อง โดยไม่เล่นเป็นเรื่องราว ในที่นี้หมายถึงรำและระบำที่มีลักษณะเป็นการแสดงแบบมาตรฐาน ซึ่งมีความหมายที่จะอธิบายได้พอสังเขป ดังนี้
3.1 รำรำไทย
หมายถึง ศิลปะแห่งการรายรำที่มีผู้แสดง ตั้งแต่ 1-2 คน เช่น การรำเดี่ยว การรำคู่ การรำอาวุธ เป็นต้น มีลักษณะการแต่งการตามรูปแบบของการแสดง ไม่เล่นเป็นเรื่องราวอาจมีบทขับร้องประกอบการรำเข้ากับทำนองเพลงดนตรี มีกระบวนท่ารำ โดยเฉพาะการรำคู่จะต่างกับระบำ เนื่องจากท่ารำจะมีความเชื่อมโยงสอดคล้องต่อเนื่องกัน และเป็นบทเฉพาะสำหรับผู้แสดงนั้น ๆ เช่น รำเพลงช้าเพลงเร็ว รำแม่บท รำเมขลา –รามสูร เป็นต้น
3.2 ระบำระ และระบำ
หมายถึง ศิลปะแห่งการร่ายรำที่มีผู้เล่นตังแต่ 2 คนขึ้นไป มีลักษณะการแต่งการคล้ายคลึงกัน กระบวนท่ารายรำคล้าคลึงกัน ไม่เล่นเป็นเรื่องราว อาจมีบทขับร้องประกอบการรำเข้าทำนองเพลงดนตรี ซึ่งระบำแบบมาตรฐานมักบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ การแต่งการนิยมแต่งกายยืนเครื่องพระนาง-หรือแต่งแบบนางในราชสำนัก เช่น ระบำสี่บท ระบำกฤดาภินิหาร ระบำฉิ่งเป็นต้น

4. การแสดงพื้นเมือง

เป็นศิลปะแห่งการร่ายรำที่มีทั้งรำ ระบำ หรือการละเล่นที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชนตามวัฒนธรรมในแต่ละภูมิภาค ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นภูมิภาคได้ 4 ภาค ดังนี้
4.1 การแสดงพี้นเมืองภาคเหนือรำพื้นบ้านภาคเหนือ
เป็นศิลปะการรำ และการละเล่น หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า “ฟ้อน” การฟ้อนเป็นวัฒนธรรมของชาวล้านนา และกลุ่มชนเผ่าต่าง ๆ เช่น ชาวไต ชาวลื้อ ชาวยอง ชาวเขิน เป็นต้น ลักษณะของการฟ้อน แบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบดั้งเดิม และแบบที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ แต่ยังคงมีการรักษาเอกลักษณ์ทางการแสดงไว้คือ มีลีลาท่ารำที่แช่มช้า อ่อนช้อยมีการแต่งกายตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สวยงามประกอบกับการบรรเลงและขับร้องด้วยวงดนตรีพื้นบ้าน เช่น วงสะล้อ ซอ ซึง วงปูเจ่ วงกลองแอว เป็นต้น โอกาสที่แสดงมักเล่นกันในงานประเพณีหรือต้นรับแขกบ้านแขกเมือง ได้แก่ ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนครัวทาน ฟ้อนสาวไหมและฟ้อนเจิง
4.2 การแสดงพื้นเมืองภาคกลางรำกลองยาว
เป็นศิลปะการร่ายรำและการละเล่นของชนชาวพื้นบ้านภาคกลาง ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรม ศิลปะการแสดงจึงมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตและพื่อความบันเทิงสนุกสนาน เป็นการพักผ่อนหย่อนใจจากการทำงาน หรือเมื่อเสร็จจากเทศการฤดูเก็บเก็บเกี่ยว เช่น การเล่นเพลงเกี่ยวข้าว เต้นกำรำเคียว รำโทนหรือรำวง รำเถิดเทอง รำกลองยาว เป็นต้น มีการแต่งกายตามวัฒนธรรมของท้องถิ่น และใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้าน เช่น กลองยาว กลองโทน ฉิ่ง ฉาบ กรับ และโหม่ง
4.3 การแสดงพื้นเมืองภาคอีสานรำพื้นบ้าน
เป็นศิลปะการรำและการเล่นของชาวพื้นบ้านภาคอีสาน หรือ ภาคตะวนออกเฉียงเหนือของไทย แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มวัฒนธรรมใหญ่ ๆ คือ กลุ่มอีสานเหนือ มีวัฒนธรรมไทยลาวซึ่งมักเรียกการละเล่นว่า “เซิ้ง ฟ้อน และหมอลำ” เช่น เซิ้งบังไฟ เซิ้งสวิง ฟ้อนภูไท ลำกลอนเกี้ยว ลำเต้ย ซึ่งใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านประกอบ ได้แก่ แคน พิณ ซอ กลองยาว อีสาน ฉิ่ง ฉาบ ฆ้อง และกรับ ภายหลังเพิ่มเติมโปงลางและโหวดเข้ามาด้วย ส่วนกลุ่มอีสานใต้ได้รับอิทธิพลไทยเขมร มีการละเล่นที่เรียกว่า เรือม หรือ เร็อม เช่น เรือมลูดอันเร หรือรำกระทบสาก รำกระเน็บติงต็อง หรือระบำตั๊กแตน ตำข้าว รำอาไย หรือรำตัด หรือเพลงอีแซวแบบภาคกลางวงดนตรี ที่ใช้บรรเลง คือ วงมโหรีอีสานใต้ มีเครื่องดนตรี คือ ซอด้วง ซอด้วง ซอครัวเอก กลองกันตรึม พิณ ระนาด เอกไม้ ปี่สไล กลองรำมะนาและเครื่องประกอบจังหวะ การแต่งกายประกอบการแสดงเป็นไปตามวัฒนธรรมของพื้นบ้าน ลักษณะท่ารำและท่วงทำนองดนตรีในการแสดงค่อนข้างกระชับ รวดเร็ว และสนุกสนาน
4.4 การแสดงพื้นเมืองภาคใต้โนรา
เป็นศิลปะการรำและการละเล่นของชาวพื้นบ้านภาคใต้อาจแบ่งตามกลุ่มวัฒนธรรมได้ 2 กลุ่มคือ วัฒนธรรมไทยพุทธ ได้แก่ การแสดงโนรา หนังตะลุง เพลงบอก เพลงนา และวัฒนธรรมไทยมุสลิม ได้แก่ รองเง็ง ซำแปง มะโย่ง (การแสดงละคร) ลิเกฮูลู (คล้ายลิเกภาคกลาง) และซิละ มีเครื่องดนตรีประกอบที่สำคัญ เช่น กลองโนรา กลองโพน กลองปืด โทน ทับ กรับพวง โหม่ง ปี่กาหลอ ปี่ไหน รำมะนา ไวโอลิน อัคคอร์เดียน ภายหลังได้มีระบำที่ปรับปรุงจากกิจกรรมในวิถีชีวิต ศิลปาต่างๆ เข่น ระบำร่อนแต่ การีดยาง ปาเตต๊ะ เป็นต้น

ความรู้วิชาคริสต์ศาสนา

พระบัญญัติ 10 ประการ ต้อง​นมัสการ​พระ​ยะโฮวา​พระเจ้า​ผู้​เดียว— อพยพ 20:3 อย่า​ไหว้​รูป​เคารพ— อพยพ 20:4-6 อย่า​เอา​ชื่อ​พระเจ...